คณะทำงาน


ก้าวแรกแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ
ภายหลังจากการที่รัฐบาลได้ประกาศใช้โครงการ “สานพลังประชารัฐ” เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ (E3) โดยมีพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าทีมภาครัฐ และมีนายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เป็นหัวหน้าทีมภาคเอกชนก็เริ่มต้นภารกิจการทำงานในทันที โดยมีเป้าหมายหลักในการสร้างรายได้ให้ชุมชน ประชาชนมีความสุข

คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐดำเนินงานในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากผ่านกลไกประชารัฐตามนโยบายของรัฐบาล โดยเป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และภาคประชาชนเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง จนถึงปลายทางเพราะการแก้ปัญหาทุกอย่างต้องเริ่มจากต้นทางหรือต้นเหตุแห่งปัญหาก่อน

ทั้งนี้คณะทำงานฯได้น้อมนำแนวทางการพัฒนามาจากพระบาทสมเด็จพระ-ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตามกระแสพระราชดำรัสในเรื่องยุทธศาสตร์ในด้านการพัฒนา คือ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” โดยเป็นการเข้าใจและเข้าถึงประชาชนในพื้นที่ว่ามีความต้องการหรือยังขาดในเรื่องใด เพื่อจะนำมาสู่แนวทางกระบวนการแก้ไขปัญหา ก่อนนำไปสู่ปลายทาง คือ การพัฒนาที่ตรงกับความต้องการของประชาชนทำให้ประชาชนมีความสุข มีรายได้ที่เพียงพอในการเลี้ยงตน สามารถที่จะเสียสละช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมได้อย่างยั่งยืนต่อไป

คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ

พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (หัวหน้าทีมภาครัฐ)
(พ.ศ.2559-ปัจจุบัน)
นายฐาปน สิริวัฒนภักดี
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
(หัวหน้าทีมภาคเอกชน)
(พ.ศ.2559-ปัจจุบัน)
นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(พ.ศ.2559-ปัจจุบัน)
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
นายสมพล เกียรติไพบูลย์
ประธานที่ปรึกษา รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ
(พ.ศ.2559-ปัจจุบัน)
นายฉัตรชัย พรมเลิศ
ปลัดกระทรวงมหาดไทย
นายกฤษฎา บุญราช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ
บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด
(พ.ศ.2559-ปัจจุบัน)
นางเกศรา มัญชุศรี
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(พ.ศ.2559-ปัจจุบัน)
นพ.พลเดช ปิ่นประทีป
สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา /
คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
(พ.ศ.2559-ปัจจุบัน)
นพ.อำพล จินดาวัฒนะ
สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
(พ.ศ.2559-ปัจจุบัน)
นายพลากร วงค์กองแก้ว
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
(พ.ศ.2559-2560)
นายวิชัย อัศรัสกร
บริษัท เวิลด์เทรดดิ้ง จำกัด
(พ.ศ.2559-ปัจจุบัน)
นายศุภชัย เจียรวนนท์
บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)
(พ.ศ.2559-ปัจจุบัน)
นายฤทธิ์ ธีระโกเมน
บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
(พ.ศ.2559-ปัจจุบัน)
นายสรัญ รังคสิริ
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
(พ.ศ.2559-ปัจจุบัน)
นายยุทธนา เจียมตระการ
บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) 
(พ.ศ.2559-ปัจจุบัน)
นายธนารักษ์ พงษ์เภตรา
บริษัท ทักษิณปาล์ม (2521) จำกัดมหาชน
(พ.ศ.2559-ปัจจุบัน)
นางสาวบุษบา จิราธิวัฒน์
บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด
(พ.ศ.2559-ปัจจุบัน)
นายวิสุธิ วิทยฐานกรณ์
บริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน)
(พ.ศ.2559-ปัจจุบัน)
นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์
อดีตอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
(อดีตเลขานุการร่วมภาครัฐ)
นายนิสิต จันทร์สมวงค์
อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
(เลขานุการร่วมภาครัฐ)
นายประวิช สุขุม
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
(เลขานุการร่วมภาคเอกชน)
(พ.ศ.2559-ปัจจุบัน)

ในระยะแรกของการทำงานเมื่อวันที่ 4 มกราคม2559 คณะทำงานภาคเอกชนได้มีการประชุมหารือร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) จากนั้นในวันที่ 6 มกราคม 2559 ได้มีการหารือในคณะทำงานภาคเอกชนอีกครั้ง ซึ่งจากการประชุมดังกล่าว ทำให้คณะทำงานได้รับทราบข้อมูลในด้านต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น และข้อมูลเหล่านี้ได้นำไปสู่การต่อยอดแผนการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมในเวลาต่อมา

13 มกราคม 2559 ได้มีเหตุการณ์สำคัญที่สุดเกิดขึ้น คือ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรชุมชน รวมมากกว่า 30 องค์กร ได้ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “สร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่ โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง สู่เศรษฐกิจฐานรากที่ยั่งยืน”

เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ภายใต้ยุทธศาสตร์ประชารัฐ ในข้อตกลงจำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วยโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก, โครงการ 1 ตำบล1 เอสเอ็มอี (SME) การเกษตร และโครงการเชื่อมโยงการค้าปลีก สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์ชุมชน และการท่องเที่ยว โดยภาคีที่เข้าร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ อาทิ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ปฏิบัติการพัฒนาชุมชนครอบคลุม6,447 ตำบลทั่วประเทศ และพัฒนาความร่วมมือกับมูลนิธิสัมมาชีพ ในการสนับสนุนความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากภายใต้ยุทธศาสตร์ประชารัฐ ปี 2559 จำนวน 1,500 ตำบลปี 2560 จำนวน 2,500 ตำบล โดยร่วมมือระหว่างสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) มูลนิธิสัมมาชีพหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ประกอบด้วยสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย, สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.) กรมการพัฒนาชุมชน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมการค้าภายใน, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, ธนาคารออมสิน,สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ, สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ, สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน), สโมสรโรตารีสัมพันธวงศ์, เครือข่ายไทยพีจีเอสออร์แกนิคพลัส, สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร, บริษัทเอสซีอีอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด,องค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน), เครือข่ายธุรกิจ Biz Club Thailand,สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย, สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ, กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), บริษัท น้ำตาลมิตรผลจำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นต้น

รับข่าวสารทางอีเมล์:
Top